Powered By Blogger

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ข่าวประจำวันที่ 24 กันยายน 2554, 05:40 น



นายกฯ ไม่หวั่น หุ้นไทยติดลบแตะ 50 จุด ชี้ แค่ช็อกข่าวเศรษฐกิจโลก แจง เป็นอาการแค่ช่วงเวลาสั้นๆ...

เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 23 ก.ย. ที่สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ตลาดหุ้นไทยตก โดยติดลบลงแตะถึง 50 จุด เป็นประวัติการณ์ว่า เรื่องนี้เป็นผลมาจากเศรษฐกิจตลาดโลก ที่มีการปรับเกรดของตัวบริษัท แต่ในส่วนตลาดหุ้นของไทยเชื่อว่า อาจจะเป็นช่วงสั้นๆ เพราะเรามีการเตรียมพื้นฐานของไทยไว้แล้ว โดยเราต้องสร้างความแข็งแรงในประเทศให้ดี เพื่อที่การผันผวนของเศรษฐกิจตรงนี้จะได้ไม่กระทบไทยมาก หวังว่าในเบื้องต้น คงเป็นการตกใจในเรื่องข่าวสารมากกว่า แต่จริงๆ แล้วเป็นผลที่รับมาต่อเนื่อง โดยรวมแล้วเราคงไม่กระทบมาก เพราะในภาพรวม เศรษฐกิจของสหรัฐฯ หรือยุโรปเอง ก็อิมแพคหรือได้ผ่านผลกระทบไปเกือบหมดแล้ว เชื่อว่าเป็นผลจากเรื่องข่าวเท่านั้น และเราคงจะเร่งฟื้นฟูในเรื่องความมั่นใจ ซึ่งอยู่ที่เราจะต้องช่วยกันสร้างความเชื่อมั่น เพราะเชื่อว่าพื้นฐานเศรษฐกิจ ในเรื่องของการเติบโตยังดีอยู่ โดยเฉพาะตลาดเอเชียซึ่งเป็นตลาดที่เราต้องหันกลับมาให้ความสนใจ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรปผันผวน ดังนั้น เราต้องมาสร้างความแข็งแรงร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์ต่างๆ เราต้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูโดยเร็ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า สถานการณ์ เราจำเป็นต้องทบทวนนโยบายประชานิยม ที่รัฐบาลกำลังจะเริ่มต้นหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็น เพราะประชานิยมตรงนี้ จะเป็นสิ่งที่จะทำให้เราเองแข็งแรง ในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งนโยบายของรัฐบาลมี 2 ส่วน คือ นโยบายการสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลดหนี้ การเพิ่มรายได้ในครัวเรือน แต่ขณะเดียวกันระยะยาว ต้องดูเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าเรื่องรถไฟ หรือโครงการเมกกะโปรเจกต์ต่างๆ แต่เรื่องต่างประเทศ เราต้องเร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นในแต่ละประเทศ ซึ่งวันนี้เราทำอยู่แล้ว เชื่อว่าให้ประชาชนรับรู้ข่าวสารไปสักพัก สถานการณ์ก็น่ากลับคืนมา ในภาพรวม แม้ว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจตลาดโลก แต่ส่วนการลงทุนยังมีอยู่ ไทยเรายังเปิดกวาดรับการลงทุน

โดย: ทีมข่าวการเมือง

24 กันยายน 2554, 05:40 น.

ประเทศไทย

ข้อมูลน่ารู้ประเทศไทย หรือราชอาณาจักรไทย ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บนคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักร กัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและสหภาพพม่า และทิศเหนือติดกับสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
ภูมิอากาศ
จำนวนประชากร
ขนาดพื้นที่
เมืองหลวง
ประชากร

ภาษา
ศาสนา
การปกครอง
อุณหภูมิ
วันหยุด
ระบบเศรษฐกิจ

ระยะทาง
เงินตรา
เวลาทำการธนาคาร
ที่ทำการไปรษณีย์
ระบบเวลา
มาตรวัด

ระบบไฟฟ้า
ที่พัก
ระบบโทรศัพท์


ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างเส้นละติจูดที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นลองจิจูดที่ 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก

มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและสหภาพพม่า ทิศเหนือติดสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


ภูมิอากาศ
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก มีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ลักษณะภูมิอากาศแบบสะวันนา คือ มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันชัดเจน ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกมีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน คือ ฝนตกเกือบตลอดปี


จำนวนประชากร
จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย 31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก

คนไทย: เดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ

1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน

2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี

3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย

4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต

5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล

ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ


ขนาดพื้นที่
ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,000 ตารางกิโลเมตร หากดูตามแผนที่จะพบว่ามีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 51 ของโลก โดยมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและสหภาพพม่า และทิศเหนือติดกับสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างเขตแดนเป็นบางช่วง


เมืองหลวง
กรุงเทพมหานคร หรือชื่อเต็มว่า “กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”


ประชากร
จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย 31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คนไทย: เดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ

1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน

2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี

3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย

4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต

5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ


ภาษา
ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และมีการใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ข้องเกี่ยวกับต่างประเทศหรือชาวต่างชาติ เช่น บุคคลในราชการ บุคคลในวงการการศึกษา การท่องเที่ยว การพาณิชย์ และผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ในกลุ่มคนระดับท้องถิ่นทั่วไปมีอัตราการรู้ภาษาอังกฤษต่ำ สื่อสารภาษาอังกฤษได้น้อยถึงไม่ได้เลย


ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท รองลงมาคืออิสลาม คริสต์ นอกจากนี้ก็ยังมีผู้นับถือศาสนาและลัทธิอื่นๆ เช่น ซิกข์ ฮินดู เต๋า ขงจื้อ และยิว รวมทั้งชาวไทยภูเขาที่นับถือศาสนาแตกต่างกันไป



การปกครอง
ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศในปัจจุบัน


อุณหภูมิ

ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศา เซลเซียส

กลับสู่ด้านบน

วันหยุดประจำปี
1 มกราคม
วันขึ้นปีใหม่

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
วันมาฆบูชา

6 เมษายน
วันจักรี

6 เมษายน
วันมาฆบูชา

13-15 เมษายน
วันสงกรานต์

13 เมษายน
วันผู้สูงอายุ

14 เมษายน
วันครอบครัว

1 พฤษภาคม
วันแรงงานแห่งชาติ

5 พฤษภาคม
วันฉัตรมงคล

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
วันวิสาขบูชา

ข้างขึ้น เดือน 6(แล้วแต่สำนักพระราชวังกำหนดวันอุดมฤกษ์)
วันพืชมงคล

1 กรกฎาคม
วันหยุดภาคครึ่งปีธนาคาร

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
วันอาสาฬหบูชา

วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
วันเข้าพรรษา

12 สิงหาคม
วันแม่แห่งชาติ (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)

23 ตุลาคม
วันปิยมหาราช

5 ธันวาคม
วันพ่อแห่งชาติ, วันชาติ (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

10 ธันวาคม
วันรัฐธรรมนูญ

31 ธันวาคม
วันสิ้นปี


กลับสู่ด้านบน

ระบบเศรษฐกิจ
ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นกลุ่มเศรษฐกิจหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศ ในด้านเกษตรกรรม ข้าวถือเป็นผลผลิตที่สำคัญที่สุด ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ดีบุกและก๊าซธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กรุงเทพมหานคร พัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และจังหวัดเชียงใหม่



ระยะทางถึงประเทศต่างๆ (กิโลเมตร)
เมืองซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย 7,530.84 กิโลเมตร

เมืองโตเกียว ญี่ปุ่น 4,603.65 กิโลเมตร

เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน 3,692.08 กิโลเมตร

เมืองฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน 1,723.91 กิโลเมตร

เมืองนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย 2,915.63 กิโลเมตร

เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส 4,882.68 กิโลเมตร

เมืองโรม สาธารณรัฐอิตาลี 8,825.12 กิโลเมตร

เมืองมาดริด ราชอาณาจักรสเปน 10,174.82 กิโลเมตร

เมืองปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส 9,438.89 กิโลเมตร

เมืองเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 8,598.95 กิโลเมตร

เมืองสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน 8,263.76 กิโลเมตร

เมืองลอนดอน สหราชอาณาจักร 9,525.96 กิโลเมตร

เมืองมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย 7,060.83 กิโลเมตร

เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา 13,922.59 กิโลเมตร

เมืองลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา 13,293.10 กิโลเมตร

เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา 11,798.55 กิโลเมตร


เงินตรา
ใช้สกุลเงินบาท (1 บาท มี 100 สตางค์)

มีธนบัตรชนิด 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท และมีเหรียญชนิด

25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท


เวลาทำการธนาคาร
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-15.30 น. ยกเว้นสาขาในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อยตามสถานที่ต่างๆ จะมีเวลาเปิดทำการที่แตกต่างกันไป บางสาขาเปิดทำการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด


ที่ทำการไปรษณีย์
ที่ทำการไปรษณีย์แต่ละแห่งมีเวลาเปิดทำการที่แตกต่างกันไป โดยมากวันจันทร์-ศุกร์เปิดเวลา 08.00-17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เปิดเวลา 09.00-12.00 น. และที่ทำการไปรษณีย์ในท่าอากาศยานบางแห่งเปิดบริการ 24 ชั่วโมง


ระบบเวลา
ประเทศไทยยึดเอาลองจิจูดที่ 105 องศาตะวันออกเป็นเวลามาตรฐาน ทำให้ประเทศไทยมีเวลาแตกต่างจากเวลามาตรฐานกรีนิช 7 ชั่วโมง


มาตรวัด
ใช้ระบบการวัดแบบเมตริก คือ วัดความยาวเป็นมิลลิเมตร เมตร และกิโลเมตร วัดน้ำหนักเป็นกรัม และกิโลกรัม และวัดอุณหภูมิเป็นเซลเซียส


ระบบไฟฟ้า
ใช้กระแสไฟฟ้า 220 โวลต์


ที่พัก
มีโรงแรมระดับต่างๆ และที่พักหลากหลายรูปแบบอยู่ทั่วประเทศ ตั้งแต่โรงแรมหรูระดับห้าดาว รีสอร์ตสไตล์ต่างๆ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ อพาร์ตเมนต์ หอพัก คอนโดมิเนียมให้เช่าทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี ไปจนถึงเกสต์เฮาส์ขนาดเล็ก รวมทั้งมีที่พักแบบโฮมสเตย์ และมีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่มีบริการบ้านพัก จุดกางเต็นท์ และเต็นท์ให้เช่า สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบและต้องการใกล้ชิดธรรมชาติ รวมทั้งผู้ที่นิยมการพักผ่อนในบรรยากาศแบบแค้มปิ้งด้วย


ระบบโทรศัพท์
รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศของประเทศไทยคือ 66

ประเทศไทยมีโทรศัพท์พื้นฐาน 7.035 ล้านหมายเลข และโทรศัพท์มือถือ 27.4 ล้านหมายเลข (สถิติเมื่อปี พ.ศ. 2548)

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

อยู่อย่างพอเพียง

ฟังเพลงสบายๆ

อุปสงค์ อุปทาน และราคาดุลยภาพ

อุปสงค์ คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆหรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ หรือ ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปกติจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับราคามากที่สุด และเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลของราคาซึ่งประกอบด้วยผลของการทดแทนกัน และผลของรายได้
          เส้นอุปสงค์สามารถสร้างได้จากข้อมูลในตารางอุปสงค์ ซึ่งจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคา และปริมาณซื้อ โดยปกติเส้นอุปสงค์จะเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา เส้นอุปสงค์สามารถเปลี่ยนแปลงไปทั้งเส้น โดยอยู่ทางขวามือหรือทางซ้ายมือของเส้นเดิมก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ทำให้จำนวนซื้อมากขึ้นหรือน้อยลง
          อุปทาน  คือ  จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ขายต้องการขาย  ณ ระดับราคาต่าง ๆ ซึ่งจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเส้นอุปทานซึ่งเป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและจำนวนขาย จึงเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา เส้นอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือหรือขวามือของเส้นเดิมได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะทำให้จำนวนขายมากขึ้นหรือน้อยลง
          ราคาดุลยภาพ  เป็นราคาที่ทำให้จำนวนเสนอซื้อ (อุปสงค์) เท่ากับจำนวนเสนอขาย (อุปทาน) ราคาใด ๆ ที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และราคาใด ๆ ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ราคาดังกล่าว จะปรับเข้าสู่ราคาดุลยภาพและราคาจะไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายเส้นอุปสงค์ และ/หรืออุปทาน ซึ่งอาจทำให้ราคาดุลยภาพใหม่ และ/หรือปริมาณดุลยภาพใหม่สูงขึ้นหรือลดลง
          โดยปกติรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานไปตามลำพัง โดยไม่เข้าไปควบคุมราคา ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นซึ่งกลไกราคาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน มาตรการที่ใช้รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงกลไกของราคาในตลาด เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมี 2 มาตรการ คือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ (การประกันราคา) ซึ่งจะกระทำเพื่อยกระดับราคาของสินค้าที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้ารายการที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขาย อีกมาตรการก็คือ การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่ใช้กำหนดราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินเพดาน จะใช้ในระหว่างเกิดขาดแคลนสินค้า ซึ่งการขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนผู้บริโภคเดือดร้อน
กิจกรรมชวนคิด
          1.ให้นักศึกษาสร้างตารางอุปสงค์ และตารางอุปทานของสินค้าใดสินค้าหนึ่ง (สมมติตัวเลขขึ้นเอง) และเขียนเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานจากตาราง
          2. ให้นักศึกษาเขียนกราฟแสดงภาวะดุลยภาพของตลาดไก่ในเชียงใหม่ก่อนและในระหว่างการเกิดการระบาดของไข้หวัดนก (ในแผ่นกราฟเดียวกัน)
แหล่งอ้างอิง
          ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง อุปสงค์ อุปทาน และราคาดุลยภาพเพิ่มเติมได้จากคู่มือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น  ที่ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี และศูนย์การเรียนรู้ ปวช.  อาคารอำนวยการ ชั้น 3 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำพูน

เงินเฟ้อและเงินฝืด

เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่ว ๆ ไป โดยเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อย ๆ  สาเหตุองเงินเฟ้อ มี 2 ประการ คือ เกิดจากอุปสงค์ตึง และเกิดจากต้นทุนผลัก เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะมีผลกระทบต่อการกระจายรายได้ ความต้องการถือเงิน การสะสมทุน การคลังของรัฐบาล และการค้าระหว่างประเทศ การแก้ไขเงินเฟ้อ ทำได้โดยลดอุปสงค์มวลรวมลง            เงินฝืด  หมายถึง  ภาวะที่ระดับราคาสินค้าละบริการทั่ว ๆ ไป ลดลงเรื่อย ๆ  เงินฝืดเกิดขึ้นเนื่องจากอุปสงค์มวลรวมลดลง เงินฝืดจะทำให้การลงทุนลดลง การจ้างงานลดลง และการว่างงานจะมากขึ้น  การแก้ไขปัญหาเงินฝืด ทำได้โดยกระตุ้นให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น
           ภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด   สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศด้อยพัฒนา ประเทศพัฒนา หรือประเทศอุตสาหกรรม ถ้าเป็นภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดอย่างอ่อน ๆ ย่อมเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ถ้าเกิดภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดอย่างปานกลางและอย่างรุนแรงแล้ว ย่อมสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมากต่อประเทศชาติ  การแก้ไขไม่สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงในระยะเวลาอันสั้น นอกจากใช้นโยบายทางการเงินและการคลังแล้ว ประชาชนในประเทศจะต้องร่วมมือด้วย เพราะประเทศชาติเป็นเรื่องของคนเป็นจำนวนมาก ไม่เหมือนกับระบบครอบครัว ซึ่งแก้ไขได้รวดเร็วกว่า
กิจกรรมชวนคิด
          ถ้าประเทศไทยเกิดภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด มีผลกระทบทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน ให้นักศึกษาจินตนาการว่าถ้านักศึกษาเป็นผู้บริหารด้านเศรษฐกิจของประเทศ จะแก้ปัญหานี้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
แหล่งอ้างอิง
          ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเรื่องการผลิตเพิ่มเติมได้จากคู่มือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น  ที่ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี และศูนย์การเรียนรู้ ปวช.  อาคารอำนวยการ ชั้น 3 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำพูน